จิตเวชเด็กและวัยรุ่น (Child and adolescent psychiatry) วางใจให้จิตแพทย์เด็กช่วยดูแล
ทีมจิตแพทย์เด็ก ปีติ คลินิก พร้อมดูแลจิตใจลูกของคุณอย่างใกล้ชิด
ขอบเขตของจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คือดูแลภาวะทางจิตใจของเด็กตั้งแต่เกิด จนถึงอายุ 18 ปี แต่ส่วนใหญ่แล้วจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นจะดูแลคนไข้เด็กที่อายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป เนื่องจากในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ
กุมารแพทย์หรือหมอเด็กจะเป็นฝ่ายที่ดูแลในด้านพัฒนาการเด็กเป็นหลัก แต่หลังจาก 6 ขวบ หากยังพบความผิดปกติทางพัฒนาการ ทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นก็จะรับหน้าที่ในการดูแลรักษาต่อ
ไม่ว่าจะเป็นอาการสมาธิสั้น หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว ขี้โมโห ซึ่งหากสังเกตว่าลูกหลานมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมเหล่านี้
ควรพามาปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่มีความเชี่ยวชาญ หรือพามารักษาสมาธิสั้นโดยทันที
ไม่ควรปล่อยไว้โดยคิดว่าอาการจะหายไปเอง เพราะอาจส่งผลต่อนิสัยของเด็กได้ในระยะยาว
อาการหรือโรคที่พบบ่อยของผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
เด็กอาจไม่รู้วิธีสื่อสารที่ถูกต้อง การต่อต้านหรือพฤติกรรมที่ไม่ถูกใจเหล่าผู้เป็นพ่อเป็นแม่ อาจเป็นวิธีส่งสัญญาณว่าพวกเขากำลังเผชิญปัญหาบางอย่าง ดังนั้นคุณควรใส่ใจและสังเกตพฤติกรรมของลูกอยู่เสมอ โดยอาการหรือโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยจิตเวชวัยเด็กและวัยรุ่นมีดังนี้
- โรคสมาธิสั้น (ADHD)
- ความบกพร่องในการเรียนรู้ (learning disorder: LD)
- โรคออทิสติก (Autistic)
- โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger)
- โรควิตกกังวลต่อการแยกจาก (separation anxiety disorder)
- ปัญหาพฤติกรรมเกเรรุนแรง (conduct disorder)
- ปัญหาดื้อ ต่อต้านพ่อแม่ (oppositional Defiant Disorder: ODD)
- ปัญหาติดเกมส์ ติดโทรศัพท์ ติดมือถือ ติดจอ ติดคอมพิวเตอร์ (internet and gaming disorder)
กลุ่มอาการอื่น ๆ ในผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
หากสังเกตพบว่าลูกมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพราะพฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอาการทางจิตเวชที่พวกเขาไม่รู้ตัวว่าเกิดขึ้นก็เป็นได้
- อาการซน ดื้อ อยู่ไม่นิ่ง ไม่เชื่อฟัง ต่อต้าน
- ปัญหาพัฒนาการด้านการพูด ไม่พูด พูดไม่ชัด พูดช้า
- ปัญหาเด็กพัฒนาการล่าช้า
- กระตุ้นทักษะการเรียน พัฒนาการด้านการเรียน
- ปัญหาการเลี้ยงดูบุตรฝึกทักษะในการเลี้ยงลูก
คำถามพบบ่อยสำหรับผู้ต้องการเข้ารับคำปรึกษากับจิตแพทย์เด็ก
ผู้ปกครองควรพิจารณาพาลูก ๆ ที่อยู่ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นมาพบจิตแพทย์เมื่อสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ไปจนถึงพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น มีปัญหาการเรียน ความสัมพันธ์กับเพื่อน หรือครอบครัว มีอาการสมาธิสั้น ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากผิดปกติ การปรึกษาจิตแพทย์แต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้การวินิจฉัยและทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การรักษาผู้ป่วยจิตเวชวัยเด็กและวัยรุ่นจะเน้นคำนึงถึงพัฒนาการตามวัย สภาพแวดล้อมทางครอบครัวและโรงเรียน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและฮอร์โมน จิตแพทย์จะใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับวัย เช่น การบำบัดด้วยการเล่น (Play Therapy) สำหรับเด็กเล็ก หรือการทำจิตบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT) สำหรับวัยรุ่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวในกระบวนการรักษามากกว่าใน ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ใหญ่
ไม่จำเป็นเสมอไป การรักษาจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของ จิตแพทย์เด็ก ผู้รับผิดชอบ รวมถึงความรุนแรงของอาการ ในหลายกรณี การรักษาด้วยการทำจิตบำบัดหรือการปรับพฤติกรรมอาจเพียงพอแล้วในการรักษา อย่างไรก็ตาม หากบางกรณีที่มีความจำเป็น เช่น การ รักษาสมาธิสั้น โรคซึมเศร้ารุนแรง หรือโรคจิตเภท จิตแพทย์อาจพิจารณาให้ยาร่วมกับการบำบัดรูปแบบอื่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นแต่ละราย
สำหรับระยะเวลาในการรักษาจะแตกต่างกันไปตามแต่ละกรณี บางรายอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน ในขณะที่บางรายอาจต้องการการดูแลระยะยาว จิตแพทย์จะประเมินความก้าวหน้าในการรักษาอย่างสม่ำเสมอและปรับแผนการรักษาตามความเหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ การรักษาอย่างต่อเนื่องและการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของอาการในผู้ป่วยวัยเด็กและวัยรุ่นได้
ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาอาการทางจิตเวชของผู้ป่วยวัยเด็กและวัยรุ่น ส่วนใหญ่แล้วจิตแพทย์มักจะมีการแนะนำผู้ปกครองให้หมั่นสังเกตอาการ ทดลองปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน รวมถึงแนะนำวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับเด็ก บางกรณีอาจมีการทำครอบครัวบำบัดเพื่อปรับความสัมพันธ์และการสื่อสารภายในครอบครัว นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังมีหน้าที่ในการให้กำลังใจ สนับสนุนการรักษาอย่างต่อเนื่อง และช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นในการนำทักษะที่ได้เรียนรู้จากการบำบัดไปใช้ในชีวิตประจำวัน